• มัลติมิเตอร์ Multimeters
  • แคล้มป์มิเตอร์ Clamp Meters
  • เครื่องทดสอบค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้า Insulation Testers
  • เครื่องวัดค่าความต้านทานดิน Earth Testers
  • เครื่องวัดความต้านทานลูป Loop/psc/rcd testers
  • เครื่องบันทึกข้อมูลกระแสรั่วไหล Loggers
  • มิเตอร์ทดสอบอเนกประสงค์ Multi Function Testers
  • เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า Power Meters
  • เครื่องทดสอบสถานะทางเฟสไฟฟ้า Phase Testers
  • แคล้มป์เซนเซอร์ Sensors
  • เครื่องวัดแสงแบบดิจิตอล Others
  • ดิจิตอลแคล้มป์มิเตอร์สำหรับวัด New Dc Milliamp Clamp Mete

วิธีการเลือกซื้อเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า

การเลือกซื้อเครื่องมือวัดทางไฟฟ้า สิ่งที่เราควรคำนึงถึงจะต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะของงานที่ต้องการวัด (ค่าที่ต้องการวัด),ความสะดวกการใช้งาน,ลักษณะการติดตั้ง,ช่วงการวัด,ความละเอียดและความแม่นยำของเครื่องวัด,สภาพแวดล้อมบริเวณที่ใช้งาน,มาตรฐานรับรองคุณภาพและที่สำคัญมาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดต่อผู้ใช้งาน

ลักษณะของงานที่ต้องการวัด (ค่าที่ต้องการวัด)

การระบุค่าหรือสิ่งที่ต้องการวัด เช่น แรงดัน,กระแส,อุณหภูมิ,ความต้านทาน,ความถี่ฯลฯ หลังจากนั้นก็ดูรายละเอียดของสิ่งที่ต้องการวัด ว่าต้องการแบบอนาล็อกหรือดิจิตอลและจำเป็นต้องมีฟังก์ชั่นพิเศษอื่นๆเพิ่มเติมอีกหรือไม่ เช่น เอาต์พุต,การตั้งค่าการแสดงผล, การบันทึกค่าสูงสุด/ต่ำสุด,การรับอินพุตเป็นแบบตรงหรือต้องผ่านอุปกรณ์อื่นๆ เช่น วัดกระแสไฟสลับ อาจต้องใช้ CT (Current Transformer) เป็นอุปกรณ์ต่อร่วม,วัดอุณหภูมิอาจต้องใช้เทอร์มอคัปเปิลในการรับอุณหภูมิซึ่งก็ควรจะคำนึงถึงชนิดและรูปร่างของเทอร์มอคัปเปิลด้วย เพื่อลดค่าความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในการวัดเพราะในงานแต่ละงานความเหมาะสมของเทอร์มอคัปเปิลก้อแตกต่างกันออกไปด้วย

ความสะดวกการใช้งานและลักษณะการติดตั้ง

ความเหมาะสมประเภทการใช้งาน เช่น ต้องการมิเตอร์ที่วัดค่าต่างๆ
- งานเพื่อใช้ซ่อมบำรุงเครื่องจักรในแต่ละที่ซึ่งอยู่ไกลกัน หรือวัดค่าที่ไม่จำเป็นต้องดูค่าตลอดเวลา ก็อาจเลือกมิเตอร์ที่เป็นแบบพกพา(Hand Held) เพื่อความสะดวกในการใช้งาน
- บางงานเป็นงานที่ต้องการดูค่าตลอดเวลาเพื่อใช้ในการควบคุมหรือการจดบันทึก ก็ควรจะใช้มิเตอร์ที่ติดตั้งอยู่กับที่หรือติดตั้งที่แผงควบคุมที่เราเรียกว่า Panel Meter
- ส่วนงานวัดอุณหภูมิก็มีให้เลือกทั้งแบบสัมผัสและไม่สัมผัสกับวัตถุ ซึ่งการเลือกใช้ก็ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิที่ใช้
- งานติดตั้งหรือความปลอดภัยของผู้ใช้ เช่น วัดบนผิวชิ้นงานธรรมดาก็อาจใช้หัววัดแบบสัมผัสกับชิ้นโดยตรง
- บางงาน เช่น การวัดอุณหภูมิของหม้อแปลงไฟฟ้าแรงสูงก็ควรใช้เทอร์มอมิเตอร์แบบอินฟราเรดเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน

ช่วงการวัดความละเอียดและความแม่นยำของเครื่องวัด

ผู้ใช้จะต้องทราบว่าค่าต่างๆที่วัดมีค่าอยู่ในช่วงเท่าใด เช่น วัดไฟฟ้าในสำนักงานทั่งไปแรงดัน 220VAC,วัดไฟ 3 เฟส 380VAC หรือไฟแรงสูงเป็นกิโลโวลต์ ฯลฯ เพื่อเลือกย่านวัดให้ถูกต้องและในการวัดต้องระบุค่าความละเอียดในการอ่านค่า (Resolution) รวมไปถึงค่าความแม่นยำ (Accuracy) ในการวัดด้วย เช่น จ่ายแรงดันที่ต้องการวัด 19.62 V ก็ต้องเลือกมิเตอร์ที่มีความละเอียด 0-01 ถึงจะแสดงผลตามที่ต้องการได้ ส่วนค่าความแม่นยำจะบอกถึงความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นกับค่าที่วัดได้จากเครื่องมือวัด ซึ่งผู้ใช้ควรจะนำมาพิจารณาในการใช้งานด้วยเพื่อให้ได้ค่าในการวัดที่ใกล้เคียงกับค่าจริงมากที่สุด

สภาพแวดล้อม

สภาพแวดล้อมที่อาจระบุในรูปของอุณหภูมิและความชื้นระหว่างการใช้งานหรือสภาพแวดล้อม ที่ระบุเป็นอุณหภูมิและความชื้นที่ใช้ในการเก็บรักษาของเครื่องวัดนั้นๆ ซึ่งค่าเหล่านี้ทางผู้ผลิตจะเป็นผู้ระบุมาในคู่มือการใช้งานอยู่แล้ว หรือในบางครั้ง


อาจระบุในรูปของมาตรฐานการป้องกันที่เราเรียกว่า มาตรฐาน IP ก็ได้ เช่น ในโรงงานหรือกระบวนการผลิตที่เป็นเครื่องจักรควรจะเป็นเครื่องวัดที่ออกแบบให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิปกติ สภาพความชื้นสูงรวมทั้งทนทานต่อการกระแทกหรือการตกหล่นที่อาจเกิดขึ้นได้

มาตรฐานรับรองคุณภาพของเครื่องวัดทางไฟฟ้า

เนื่องจากการใช้งานเครื่องวัดเหล่านี้จะเช้าไปเกี่ยวข้องกับปริมาณทางไฟฟ้าไม่มากก็น้อย ดังนั้น มาตรฐานที่รับรองคุณภาพจากประเทศต่างๆ ก็มีความหมายถึงการผ่านการทดสอบในเครื่องวัดที่เป็นที่ยอรับของประเทศนั้นๆ ซึ่งจะช่วยสร้างความมั่นใจในคุณภาพของเครื่องมือวัดมากยิ่งขึ้น โดยตัวอย่างสัญลักษณ์รับรองมาตรฐานความปลอดภัยจะแสดงอยู่ที่ หน้า T31

มาตรฐานความปลอดภัยของเครื่องมือวัดต่อผู้ใช้งาน

คือ การป้องกันภัยที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้งานอุปกรณ์หรือเครื่องวัดต่างๆ ดังนั้น ถ้าต้องการวัดหรือใช้ไฟฟ้าในวงจรพลังงานสูง ควรมองหาเครื่องวัดที่มีมาตรฐานความปลอดภัยด้วยโอยมีองค์กรมาตรฐาน IEC (International Electrotechnical Commission) เป็นผู้กำหนดมาตรฐานความปลอดภัย IEC 61010 ไว้ซึ่งแบ่งเป็นประเภทต่างๆ ไว้ดังนี้ คือ

  • CAT I (Category I) เป็นแรงดันระดับสัญญาณที่มีในอุปกรณ์สื่อสารและอิเล็กทรอนิกส์
  • CAT II (Category II) เป็นแรงดันระดับทั่วไปในบ้านและสำนักงาน คือ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ปลั๊กไฟ เป็นต้น
  • CAT III (Category III) เป็นแรงดันระดับสายส่งไฟฟ้าในอาคารชนิด 1 เฟส หรือ 3 เฟสโดยมีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 1,000 โวลต์
  • CAT IV (Category IV) เป็นแรงดันระดับสายส่ง ไฟฟ้า ที่อยู่นอกอาคารที่เป็น 3 เฟส โดยมีแรงดันไฟฟ้าต่ำกว่า 1,000 โวลต์

ตารางมาตรฐานการทดสอบพิกัดความปลอดภัยของมิเตอร์

มาตรฐาน IEC 61010 กำหนดวิธีทดสอบมาตรฐานเน้นข้อสำคัญ 3 ประการ คือ แรงดันไฟฟ้าสภาพปกติ, แรงดันไฟฟ้าสูงสุดของการเกิดทรานเซียนต์ และความต้านทานของแหล่งกำเนิด
มาตรฐานความปลอดภัย แรงดันไฟฟ้าสภาพปกติ DC, AC-RMS to GND แรงดันไฟฟ้าสูงสุดของการเกิดทรานเซียนต์ ความต้านทานของแหล่งกำเนิด
CAT I 600V 2500V 30Ω (source)
CAT I 1000V 4000V 30Ω (source)
CAT II 600V 4000V 12Ω (source)
CAT II 1000V 6000V 12Ω (source)
CAT III 600V 6000V 2Ω (source)
CAT III 1000V 8000V 2Ω (source)
  • การวัดค่า True RMS (Root Mean Square: ค่าเฉลี่ยกำลังสอง)

    เมื่อความผิดเพี้ยนของสัญญาณไม่มีผลกระทบต่อกระแสไฟที่โหลด แคล้มป์มิเตอร์ทั้งแบบค่าเฉลี่ย (Average) และแบบค่าจริง (True RMS) จะวัดค่าได้ใกล้เคียงกันมาก คือ ประมาณ 10A โดยมีรูปคลื่นคงตัวดังตัวอย่างข้างบน ดูรายละเอียด >>

    แคล้มป์มิเตอร์คืออะไร?

    แคล้มป์มิเตอร์เป็นเครื่องมือทางไฟฟ้าชนิดเหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ โดยไม่ต้องดับไฟหรือหยุดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ในการวัดกระแสไฟฟ้านั้น หากเราใช้เครื่องมือชนิดอื่น ดูรายละเอียด >>

    แคล้มป์มิเตอร์ทำงานอย่างไร?

    ในกรณีที่เป็นแคล้มป์มิเตอร์ที่ใช้วัดค่ากระแสไฟฟ้ากระแสสลับนั้น เมื่อคล้องมิเตอร์เข้ากัลสายไฟแล้ว ส่วนของปากคีบจะทำหน้าที่ตรวจจับสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบสายไฟฟ้า (เสมือนเป็นหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า Current Transformer) ดูรายละเอียด >>

  • หลักการทำงาน AC/DC แคล้มป์มิเตอร์

    ในการวัดกระแสไฟฟ้าสลับนั้น จะใช้วิธีการตรวจจับสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นรอบสายไฟฟ้า แล้วนำสัยญาณที่ตรวจจับได้ไปแปลงเป็นค่าที่สามารถอ่านค่าได้ แต่ในการวัดค่ากระแสไฟ DC จะไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันได้ ดูรายละเอียด >>

    วิธีการวัดค่ากระแสรั่วไหล

    การวัดค่าจะทำให้ 2 วิธีดังนี้ 1. วัดค่ากระแส (lg) ที่ไหลผ่านสายดินลงสู่พื้นดินโดยตรง แล้วอ่านค่า 2. วัดค่าโดยการเปรีียบเทีียบปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เข้าและออกจากเครื่องใช้ โดยคล้องมิเตอร์เข้ากับสายไฟทั้ง ดูรายละเอียด >>

    วิธีการใช้แคล้มป์มิเตอร์วัดกระแสรั่วไหลของ KEW

    หาก RCD มีการทริป ให้ต่อสายเข้ามา RCD ชั่วคราว แล้วคีบแคล้มป์มิเตอร์วัดกระแสรั่วไหลรอบสายเฟสกับสายนิวทรัลที่ด้านตัวจ่ายพลังงานของ RCD (สำหรับระบบ 33 เฟส ควรคีบแคล้มป์มิเตอร์รอบสายไฟตัวนำที่มีไฟฟ้า) ดูรายละเอียด >>

  • ทำไมการทดสอบความเป็นฉนวนจึงมีความจำเป็น?

    ขั้วต่อที่มีไฟฟ้าไหลอยู่ทั้งหมดของเครื่องใช้ไฟฟ้าและการตัิดตั้งจะต้องหุ่มฉนวนเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟดูดที่เกิดจากการสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ หรือป้องกันอันตรายจากไฟไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรและตความเสียหายของอุปกรณ์ ดูรายละเอียด >>

    วิธีการวัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้า

    เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ต้องป้องกัน RCD จะตัดระบบไฟฟ้าที่รั่วไหลออกจากแหล่่งจ่ายไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ใช้งานการตรวจจับกระแสรั่วไหลนี้ บ. kyoritsu มีแคล้มป์มิเตอร์ที่สามารถตรวจจับได้ ดูรายละเอียด >>

    หลักการของการวัดสภาพต้านทานดิน

    หลักการของการวัดสภาพต้านทานดิน ตามวิธีการ 4 ขั้วของเวนเนอร์ ให้ใช้กระแส AC "I" ระหว่าง "E" (หลักดิน) และ "H(C)" (ขั้วกระแสไฟฟ้า) เพื่อหาความต่างศักย์ "V" ระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้า "S(P)" และหลักดินเสริม "ES" ดูรายละเอียด >>

  • หลักการวัดความต้านทานดินแบบแคล้มป์

    เครื่องวัดนี้จะทำการวัดความต้านทานดินต่อพื้นดิน ในแบบการต่อลงดินหลายจุด จากรูปจะให้ความทานดินของจุดที่ทำการทดสอบเป็น Rx และความต้านทานดินของจุดอื่นๆ เป็น R1, R2, ดูรายละเอียด >>

    วิธีการทดสอบความถูกต้องของลูป Loop Testing

    หลักการของการวัดสภาพต้านทานดิน ตามวิธีการ 4 ขั้วของเวนเนอร์ ให้ใช้กระแส AC "I" ระหว่าง "E" (หลักดิน) และ "H(C)" (ขั้วกระแสไฟฟ้า) เพื่อหาความต่างศักย์ "V" ระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้า "S(P)" และหลักดินเสริม "ES" ดูรายละเอียด >>

    สายนิวทรัล-ไลน์-สายดิน

    ต่อสายวัด "หลัก (PRIMARY)" ของตัวต่อสายสัญญาณเข้ากับตำแหน่งนิวทรัลของสายส่ง RCD และต่อสายวัด "รอง (SECONDARY)" ของตัวต่อสายสัญญาณเข้ากับตำแหน่งไลน์ของสายโหลด RCD ดูรายละเอียด >>

บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด Supremelines co.,Ltd  บทความและสาระน่ารู้  ติดต่อเราสุพรีมไลนส์ 

ศูนย์รวมเครื่องมือวัดและควบคุมแบบอัตโนมัติ ทางด้านอุตสาหกรรม ทุกชนิด

" จากประสบการณ์ที่ยาวนาน ในวงการขายการนำเข้าเครื่องมือวัด และควบคุมแบบอัตโนมัติ ทางด้านอุตสาหกรรม ด้วยทีมงานเชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาบริการก่อนและหลังการขาย คุณภาพดี มีมาตรฐาน "

บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ยี่ห้อ "KYORITSU" อาทิ มัลติมิเตอร์,อนาล็อคมัลติมิเตอร์,ดิจิตอลมัลติมิเตอร์,แคล้มป์มิเตอร์,อนาล็อคแคล้มป์มิเตอร์,ดิจิตอลแคล้มป์มิเตอร์,เครื่องทดสอบค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้า,เครื่องวัดค่าความต้านทานดิน, มิเตอร์สอบความต้านทานลูป,เครื่องบันทึกข้อมูลกระแสรั่วไหล,มิเตอร์ทดสอบอเนกประสงค์,เครื่องวัดค่าความต้านทานดิน,เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า,เครื่องทดสอบสถานะทางเฟสไฟฟ้า,แคล้มป์อแดปเตอร์,เซนเซอร์จับโวลต์,เครื่องวัดแสงแบบดิจิตอล

Contact us บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด