• มัลติมิเตอร์ Multimeters
  • แคล้มป์มิเตอร์ Clamp Meters
  • เครื่องทดสอบค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้า Insulation Testers
  • เครื่องวัดค่าความต้านทานดิน Earth Testers
  • เครื่องวัดความต้านทานลูป Loop/psc/rcd testers
  • เครื่องบันทึกข้อมูลกระแสรั่วไหล Loggers
  • มิเตอร์ทดสอบอเนกประสงค์ Multi Function Testers
  • เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า Power Meters
  • เครื่องทดสอบสถานะทางเฟสไฟฟ้า Phase Testers
  • แคล้มป์เซนเซอร์ Sensors
  • เครื่องวัดแสงแบบดิจิตอล Others
  • ดิจิตอลแคล้มป์มิเตอร์สำหรับวัด New Dc Milliamp Clamp Mete

ประมวลศัพท์เกี่ยวกับเครื่องตรวจวัด

ความแม่นยำ (Accuracy)

    ความแม่นยำของเครื่องมือวัดชนิดที่เป็นดิจิตอลหรือแบบตัวเลขนั้น จะกำหนดด้วยผลต่างระหว่างค่าที่วัดได้กับค่าที่แท้จริงภายใต้สภาพที่เป็นมาตรฐานตามปกติ ดังค่าที่แสดงไว้ข้างล้างนี้ (±xx% rdg ±xx dgt) ความแม่นยำของค่าตัวแรกจะแสดงไว้เป็นหน่วยของ % ที่ได้เปรียบเทียบกับขนาดของ INPUT ภายใต้ค่าความแตกต่างที่มีต่อค่าที่สามารถอ่านได้ สำหรับค่าตัวที่สองนั้นจะแสดงถึงค่าความแตกต่างของค่าคงที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับ INPUT โดยจะแสดงไว้ด้วยจำนวน DIGIT “RDG” จะแสดงถึงค่าที่อ่านได้ ซึ่งย่อมาจากคำว่า reading ส่วน “dgt” จะแสดงเป็นตัวเลข ซึ่งย่อมาจากคำว่า digit อันเป็นตัวเลขที่เป็นหลักเล็กที่สุดของการชี้ค่าของ DIGITAL ซึ่งส่วนใหญ่จะแสดงถึงปัจจัยความแตกต่างของเครื่องมือวัดทาง DIGITAL


ฟังก์ชั่นการคายประจุอัตโนมัติ (Auto-discharge Function)

    ฟังก์ชั่นนี้จะเป็นตัวปล่อยไฟที่ได้ชาร์จไว้แล้วอย่างอัตโนมัติ เมื่อการวัดความต้านทานฉนวนได้สิ้นสุดลง


เปลี่ยนเร้นจ์การวัดอัตโนมัติ (Auto-ranging)

    เป็นการเปลี่ยนแปลงอย่างอัตโนมัติต่อขนาดของสัญญาณ INPUT ของ RANGE เครื่องมือวัด


ค่าเฉลี่ย (Average Value)

    ค่าเฉลี่ยของค่าชั่วคราวของระยะครึ่งกระแสสลับการแสดงค่าของเครื่องมือวัดโดยทั่วไป จะเป็นค่าเฉลี่ยดังกล่าวนี้เป็นเกณฑ์

ในกรณีของคลื่นปกติ : ค่าเฉลี่ย = ค่าสูงสุด x 2= ค่าสูงสุดx0.637

ในกรณีของค่าที่แท้จริงเป็น 100V : ค่าเฉลี่ย = ค่าสูงสุด x 2= 141x0.637 = 90(V)
     เครื่องมือวัดโดยทั่วไปจะชี้ค่าเป็นค่าเฉลี่ยเสมอ แต่ได้มีการแก้ไข้เป็นค่าที่แท้จริง เราเรียกกันว่ารูปแบบการชี้ค่าที่แท้จริงของค่าเฉลี่ย ในกรณีที่นอกเหนือจากรูปคลื่นปกติแล้วจะเป็นค่าคลาดเคลื่อนได้ ในทางตรงกันข้ามค่าที่แท้จริงที่สามารถวัดได้โดยตรงนั้น จะเรียกว่ารูปแบบค่าจริงของค่าที่แท้จริง


ตัวประกอบยอดคลื่น (Crest Factor)

    หมายถึง การเปรียบเทียบค่าที่แท้จริงของค่าสูงสุด จะแสดงด้วยการเคลื่อนไหวในรูปของเส้นตรงว่าต้อง INPUT เป็นจำนวนกี่เท่าของ INPUT RANGE ของเครื่องมือวัด กล่าวคือ
ตัวประกอบยอดคลื่น (Crest Factor) = ค่าสูงสุด/ค่าที่แท้จริง (True RMS) ในกรณีของคลื่นปกติ
ตัวประกอบยอดคลื่น (Crest Factor) = 141/100 = 1.41


ระบบค้างตัวเลข (Data Hold)

    เป็นการคงค่าแสดงผลของการวัดให้คงที่ เพื่อง่ายต่อการตรวจสอบและบันทึกค่าที่วัดได้ของเครื่องมือวัด


เดซิเบล (Decibel: dB)

    คือ หน่วยที่ใช้ในการแสดงค่าความเปลี่ยนแปลงของการสั่นสะเทือนของสัญญาณทางไฟฟ้าและระดับเสียง เป็นต้น 1:10 ของการเปรียบเทียบแรงดันไฟฟ้า จะเท่ากับ -20dB และ 10:1 จะเท่ากับ 20dB นอกจากนี้ 100:1 จะเท่ากับ 40dB ดังนั้น 1000:1 จะเท่ากับ 60dB กล่าวคือ ยกกำลัง 2 ของแรงดันไฟฟ้า (E²) คือ กำลังไฟฟ้า (P) ดังนั้นกำลังไฟฟ้า 10:1 จะเท่ากับ 10dB ไม่ใช่ 20dB


การทดสอบไดโอด (Diode Test)

    เป็นฟังก์ชั่นการตัดสินว่าไดโอดที่วัดนั้นตรงขั้วหรือสลับขั้ว ด้วยการปล่อยแรงดันไฟฟ้าและผ่านกระแสไฟฟ้าเท่าที่จำเป็นที่จะทำให้ DIODE TRANSISTOR ON ได้


ตัวประกอบความเพี้ยน (Distortion Factor)

    เป็นการแสดงให้เห็นถึงระดับของรูปคลื่นรบกวน โดยทั่วไปจะหมายถึงการเปรียบเทียบค่าที่แท้จริงของคลื่นพื้นฐานกับค่าที่แท้จริงของ HIGH FREQUENCY


Dual Integration Method

    เป็นสูตรการเปลี่ยนแปลงแรงดันไฟฟ้าให้เป็นระยะเวลา ซึ่งประกอบด้วยสมการเวลาตัวที่ 1 (Ts) กับสมการตัวที่ 2 (Tx) ในขั้นตอนแรกจะกำหนดให้ INPUT VOLTAGE (Vx) เป็นสมการเวลาคงที่ แล้วจึงตามด้วยสมการสลับจนกว่าจะกลายเป็น 0 ที่ STANDARD VOLTAGE (Vr)

    สมการเวลาสลับ (Tx) จะเป็นระยะเวลาที่เปรียบเทียบกับ INPUT VOLTAGE (Vx) และจากการตรวจวัดระยะเวลาดังกล่าวก็จะทำให้หา INPUT VOLTAGE (Vx) ได้

    จากสูตรดังกล่าวนี้ การลดเสียงรบกวนจะทำให้สามารถตรวจวัดได้อย่างมั่นคง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง LINE FREQUENCY ของ 50Hz หรือ 60Hz นั้น จะสามารถลดเสียงรบกวนได้เป็นอย่างมาก ซึ่งมิเตอร์แบบดิจิตอบที่ทางบริษัทฯ ได้ผลิตนั้นล้วนแล้วแต่จะใช้สูตรการผลิตดังกล่าวเป็นเกณฑ์

  • การวัดค่า True RMS (Root Mean Square: ค่าเฉลี่ยกำลังสอง)

    เมื่อความผิดเพี้ยนของสัญญาณไม่มีผลกระทบต่อกระแสไฟที่โหลด แคล้มป์มิเตอร์ทั้งแบบค่าเฉลี่ย (Average) และแบบค่าจริง (True RMS) จะวัดค่าได้ใกล้เคียงกันมาก คือ ประมาณ 10A โดยมีรูปคลื่นคงตัวดังตัวอย่างข้างบน ดูรายละเอียด >>

    แคล้มป์มิเตอร์คืออะไร?

    แคล้มป์มิเตอร์เป็นเครื่องมือทางไฟฟ้าชนิดเหนึ่ง ซึ่งใช้สำหรับวัดค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลในวงจรได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ โดยไม่ต้องดับไฟหรือหยุดการทำงานของอุปกรณ์ไฟฟ้า ในการวัดกระแสไฟฟ้านั้น หากเราใช้เครื่องมือชนิดอื่น ดูรายละเอียด >>

    แคล้มป์มิเตอร์ทำงานอย่างไร?

    ในกรณีที่เป็นแคล้มป์มิเตอร์ที่ใช้วัดค่ากระแสไฟฟ้ากระแสสลับนั้น เมื่อคล้องมิเตอร์เข้ากัลสายไฟแล้ว ส่วนของปากคีบจะทำหน้าที่ตรวจจับสนามแม่เหล็กที่เกิดขึ้นรอบสายไฟฟ้า (เสมือนเป็นหม้อแปลงกระแสไฟฟ้า Current Transformer) ดูรายละเอียด >>

  • หลักการทำงาน AC/DC แคล้มป์มิเตอร์

    ในการวัดกระแสไฟฟ้าสลับนั้น จะใช้วิธีการตรวจจับสนามแม่เหล็กเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นรอบสายไฟฟ้า แล้วนำสัยญาณที่ตรวจจับได้ไปแปลงเป็นค่าที่สามารถอ่านค่าได้ แต่ในการวัดค่ากระแสไฟ DC จะไม่สามารถใช้วิธีการเดียวกันได้ ดูรายละเอียด >>

    วิธีการวัดค่ากระแสรั่วไหล

    การวัดค่าจะทำให้ 2 วิธีดังนี้ 1. วัดค่ากระแส (lg) ที่ไหลผ่านสายดินลงสู่พื้นดินโดยตรง แล้วอ่านค่า 2. วัดค่าโดยการเปรีียบเทีียบปริมาณกระแสไฟฟ้าที่เข้าและออกจากเครื่องใช้ โดยคล้องมิเตอร์เข้ากับสายไฟทั้ง ดูรายละเอียด >>

    วิธีการใช้แคล้มป์มิเตอร์วัดกระแสรั่วไหลของ KEW

    หาก RCD มีการทริป ให้ต่อสายเข้ามา RCD ชั่วคราว แล้วคีบแคล้มป์มิเตอร์วัดกระแสรั่วไหลรอบสายเฟสกับสายนิวทรัลที่ด้านตัวจ่ายพลังงานของ RCD (สำหรับระบบ 33 เฟส ควรคีบแคล้มป์มิเตอร์รอบสายไฟตัวนำที่มีไฟฟ้า) ดูรายละเอียด >>

  • ทำไมการทดสอบความเป็นฉนวนจึงมีความจำเป็น?

    ขั้วต่อที่มีไฟฟ้าไหลอยู่ทั้งหมดของเครื่องใช้ไฟฟ้าและการตัิดตั้งจะต้องหุ่มฉนวนเพื่อป้องกันอันตรายจากไฟดูดที่เกิดจากการสัมผัสโดยไม่ตั้งใจ หรือป้องกันอันตรายจากไฟไหม้ที่เกิดจากไฟฟ้าลัดวงจรและตความเสียหายของอุปกรณ์ ดูรายละเอียด >>

    วิธีการวัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้า

    เมื่อเกิดกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ต้องป้องกัน RCD จะตัดระบบไฟฟ้าที่รั่วไหลออกจากแหล่่งจ่ายไฟฟ้า เพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับผู้ใช้งานการตรวจจับกระแสรั่วไหลนี้ บ. kyoritsu มีแคล้มป์มิเตอร์ที่สามารถตรวจจับได้ ดูรายละเอียด >>

    หลักการของการวัดสภาพต้านทานดิน

    หลักการของการวัดสภาพต้านทานดิน ตามวิธีการ 4 ขั้วของเวนเนอร์ ให้ใช้กระแส AC "I" ระหว่าง "E" (หลักดิน) และ "H(C)" (ขั้วกระแสไฟฟ้า) เพื่อหาความต่างศักย์ "V" ระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้า "S(P)" และหลักดินเสริม "ES" ดูรายละเอียด >>

  • หลักการวัดความต้านทานดินแบบแคล้มป์

    เครื่องวัดนี้จะทำการวัดความต้านทานดินต่อพื้นดิน ในแบบการต่อลงดินหลายจุด จากรูปจะให้ความทานดินของจุดที่ทำการทดสอบเป็น Rx และความต้านทานดินของจุดอื่นๆ เป็น R1, R2, ดูรายละเอียด >>

    วิธีการทดสอบความถูกต้องของลูป Loop Testing

    หลักการของการวัดสภาพต้านทานดิน ตามวิธีการ 4 ขั้วของเวนเนอร์ ให้ใช้กระแส AC "I" ระหว่าง "E" (หลักดิน) และ "H(C)" (ขั้วกระแสไฟฟ้า) เพื่อหาความต่างศักย์ "V" ระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้า "S(P)" และหลักดินเสริม "ES" ดูรายละเอียด >>

    สายนิวทรัล-ไลน์-สายดิน

    ต่อสายวัด "หลัก (PRIMARY)" ของตัวต่อสายสัญญาณเข้ากับตำแหน่งนิวทรัลของสายส่ง RCD และต่อสายวัด "รอง (SECONDARY)" ของตัวต่อสายสัญญาณเข้ากับตำแหน่งไลน์ของสายโหลด RCD ดูรายละเอียด >>

บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด Supremelines co.,Ltd  บทความและสาระน่ารู้  ติดต่อเราสุพรีมไลนส์ 

ศูนย์รวมเครื่องมือวัดและควบคุมแบบอัตโนมัติ ทางด้านอุตสาหกรรม ทุกชนิด

" จากประสบการณ์ที่ยาวนาน ในวงการขายการนำเข้าเครื่องมือวัด และควบคุมแบบอัตโนมัติ ทางด้านอุตสาหกรรม ด้วยทีมงานเชี่ยวชาญ พร้อมให้คำปรึกษาบริการก่อนและหลังการขาย คุณภาพดี มีมาตรฐาน "

บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายอุปกรณ์ยี่ห้อ "KYORITSU" อาทิ มัลติมิเตอร์,อนาล็อคมัลติมิเตอร์,ดิจิตอลมัลติมิเตอร์,แคล้มป์มิเตอร์,อนาล็อคแคล้มป์มิเตอร์,ดิจิตอลแคล้มป์มิเตอร์,เครื่องทดสอบค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้า,เครื่องวัดค่าความต้านทานดิน, มิเตอร์สอบความต้านทานลูป,เครื่องบันทึกข้อมูลกระแสรั่วไหล,มิเตอร์ทดสอบอเนกประสงค์,เครื่องวัดค่าความต้านทานดิน,เครื่องวัดพลังงานไฟฟ้า,เครื่องทดสอบสถานะทางเฟสไฟฟ้า,แคล้มป์อแดปเตอร์,เซนเซอร์จับโวลต์,เครื่องวัดแสงแบบดิจิตอล

Contact us บริษัท สุพรีมไลนส์ จำกัด