
ฟังก์ชันพิเศษต่างๆ ของดิจิตอลมัลติมิเตอร์
Digital Multimeter function
CONTINUITY (ความต่อเนื่อง)
คือ การวัดค่าความต้านทานแบบผ่าน/ไม่ผ่าน (GO/NG) อย่างรวดเร็วเพื่อใช้แบ่งแยกความแตกต่างระหว่างวงจรปิด (Short Circuit) กับวงจรเปิด (Open Circuit) ส่วนใหญ่นิยมแสดงผลด้วยสัญญาณเสียง
DIODE TEST (ทดสอบไดโอด)
คือ ฟังก์ชั่นที่ใช้ทดสอบไดโอด โดยการอ่านค่าแรงดันตกคร่อมตัวไดโอด ซึ่งควรเป็น ~ 0.6-0.7V (Germanium) หรือ ~ 0.3V (Silicon) ผลนี้แสดงว่าไดโอดยังดีอยู่ แต่ถ้าค่าที่อ่านได้จากการวัดทั้ง 2 ทิศทางนั้นเปิดทั้งคู่ แสดงว่าไดโอดขาด แต่ถ้าอ่านได้เป็นปิดทั้งคู่แสดงว่าไดโอดช๊อต (Short)
DATA HOLD (คงค่าข้อมูล)
คือ การคงค่าข้อมูลในการแสดงผลของเครื่องวัดให้คงที่ชั่งขณะเพื่อง่ายต่อการอ่านค่าหรือสะดวกต่อการจดบันทึก
PEAK VALUE (คงค่าข้อมูล)
คือ ค่าของจุดเคลื่อนไหวสูงสุดของรูปคลื่นของสัญญาณต่างๆ ที่ทำการวัด
hFE
คือ ค่าอัตราการขยายทางด้านกระแสของทรานซิสเตอร์
TRUE-RMS
ในการวัดค่าของกระแสไฟฟ้าและแรงดันไฟฟ้า โดยทั่วไปค่าที่ต้องการวัดได้จะต้องเป็นค่าที่ทำให้เกิดพลังงานจริง (Effective Values) ซึ่งเรียกว่า ค่า RMS (Root-Mean-Square) สามารถคำนวณค่าเฉลี่ยของกระแสไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้า การวัดมิเตอร์ทั่วไปที่เป็นแบบค่าเฉลี่ยนั้น จะคำนวณหาค่าเฉลี่ยของรูปคลื่น Sine Wave แล้วใช้ค่าตัวคูณ (Conversion Factor) การคำนวณให้ได้ค่า RMS (สำหรับการวัดค่าของรูปคลื่นอื่นๆ ก็จะใช้ค่าตัวคูณที่ต่างกันออกไป) นั่นแสดงว่าการวัดแรงดันหรือกระแสไฟฟ้าที่ไม่ได้เป็นรูปคลื่นแบบ Sine Wave จริงๆ (Prue sine) จะให้ผลการวัดที่ผิดพลาดไปจากค่าจริง แต่มิเตอร์ที่ระบุการแสดงผลแบบ True-RMS จะทำการคำนวณค่าในส่วนนี้ให้เราเอง ดังนั้น ค่าที่วัดได้จึงเป็นค่าพลังงานจริงเสมอ ไม่ใช่ค่าพลังงานเฉลี่ย ผลที่ได้จึงแม่นยำมากกว่า
MAX-MIN (ค่าสูงสุด-ค่าต่ำสุด)
คือ ฟังก์ชั่นที่ใช้ในการบันทึกค่าสูงสุดหรือต่ำสุดในการวัดค่าต่างๆของมิเตอร์
TEMPERATURE MODE
คือ ฟังก์ชั่นที่ใช้วัดค่าอุณหภูมิโดยจะต้องต่อร่วมกับโพรบรับอุณหภูมิ (Thermocouple) ซึ่งจะต้องมีตัวแปลงสัญญาณทำหน้าที่เปลี่ยนอุณหภูมิให้เป็นแรงดัน ก่อนที่จะส่งไปแสดงผลที่มิเตอร์ แต่ในมิเตอร์บางรุ่นก็สามารถต่อเข้ากับเทอร์มอคัปเปิลได้โดยตรง เพราะมีตัวแปลงสัญญาณอยู่ภายในมิเตอร์อยู่แล้ว
dB : DECIBLE
คือ หน่วยที่ใช้แสดงค่าความเปลี่ยนแปลงการสั่นสะเทือนสัญญาณไฟฟ้าและระดับความดังของเสียง เช่น 10:1 ของการเปรียบเทียบแรงดันไฟฟ้า (เอาต์พุต : อินพุต) จะเท่ากับ 20dB, 100:1 เท่ากับ 40dB, 1000:1 จะเท่ากับ 60dB และเนื่องจากยกกำลัง 2 ของแรงดันไฟฟ้า (E²) คือ กำลังไฟฟ้า (P) ดังนั้น กำลังไฟฟ้า 10:1 จะเท่ากับ 10dB ไม่ใช่ 20dB
dB=20 log (Vout/Vin) หรือ dB=10 log (Vout/Vin)² หรือ dB=10 log (Pout/Pin)
WITHSTAND VOLTAGE
คือ ค่าแรงดันไฟฟ้าสูงสุดภายใต้ฉนวน โดยไม่เกิดการเสียหายของวงจรภายในหรืออุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่
LEAKAGE CURRENT
คือ ค่ากระแสรั่วไหล ซึ่งสามารถวัดได้โดยการใช้มิเตอร์ไม่ว่าจะเป็นมัลติมิเตอร์หรือแคล้มป์มิเตอร์ที่ย่านวัดกระแสต่ำๆ อย่างเช่น อุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่
BACKLIGHT DISPLAY
คือ จอแสดงผลออกแบบให้มีไฟส่องสว่างจากด้านหลังจึงทำให้การอ่านค่าชัดเจน ซึ่งคุณสมบัตินี้เหมาะสำหรับงานที่มีแสงสว่างน้อย
HALL SENSOR (HALL ELEMENT)
คือ สารกึ่งตัวนำชนิดหนึ่ง เมื่อจ่ายกระแสให้กับ Hall element แล้วนำไปให้ได้รับสนามแม่เหล็ก Hall element ก็จะสามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้าออกมาทางขั้ว Output ได้
RS-232C OUTPUT
คือ พอร์ตของสัญญาณเอาต์พุต ที่ใช้สำหรับส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์อื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ โดยที่คำว่า “RS-323C” เป็นชื่อของสัญญาณมาตรฐานที่ใช้