
มิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้า
Insulation Tester and Continuity Tester
อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดจะมีฉนวนซึ่งทำจากพลาสติกเป็น PVC หรือเคลือบลวดไฟฟ้าด้วยสายที่เป็นฉนวน นานไปฉนวนจะเสื่อมค่าลง ทำให้อุปกรณ์ไฟฟ้าเสียใช้งานไม่ได้และเป็นอันตรายกับผู้ปฏิบัติงาน ดังนั้น มิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวนจึงถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อตรวจสอบค่าความเป็นฉนวน จะได้แก้ไขปัญหาก่อนที่จะเกิดความเสียหายขึ้น มิเตอร์ทดสอบความเป็นฉนวนแบบเข็ม เช่น รุ่น KEW 3131A, KEW 3132A, KEW 3166, KEW 3321A
จำเป็นต้องมี/ใช้เครื่องมิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าหรือไม่ ? ทำไมจึงต้องวัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าเป็นประจำทุกเดือน
ตอบ มีความจำเป็นต้องมีมิเตอร์วัดค่าฉนวนไฟฟ้าประจำโรงงาน/อาคาร สายไฟฟ้าและอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ควรมีการวัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าอยู่เป็นประจำทุก 2 อาทิตย์ หรือทุกเดือนและเก็บบันทึกค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าไว้ทุกครั้ง เพื่อนำมาเปรียบเทียบดูว่าสายไฟ มอเตอร์ ฮีตเตอร์ แผง/ตู้ไฟฟ้า มีการเสื่อมของฉนวนไฟฟ้า อันเนื่องมาจากความร้อน ความชื้น ฝุ่น สิ่งแปลกปลอมอื่นๆ การสั่นสะเทือนและความเสื่อมของฉนวนไฟฟ้าจากอายุการใช้งาน ทำให้ค่าความเป็นฉนวนลดลง ถ้าลดลงมากแสดงว่าอาจจะมีกระแสรั่วไหลลงดินแล้ว จึงควรวัดค่ากระแสรั่วไหลลงดิน Earth Leakage Current ด้วย เพราะทำให้เสียค่าไฟฟ้ามากและยังเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานอีกด้วย และในระยะเวลาไม่นานก็จะเกิดกระแสลัดวงจร อันเนื่องมาจากความเป็นฉนวนไฟฟ้าได้หมดไป สายไฟ มอเตอร์จึงช๊อตทำให้เกิดความเสียหายโดยตรงกับอุปกรณ์และการเสียเวลาในการผลิตสินค้า/ทำงาน
ถ้าเรามีตรวจสอบโดยใช้มิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าและบันทึกค่าเก็บไว้ ก็จะสามารถวางแผนการนำสายไฟหรือมิเตอร์สำรองมาเปลี่ยนในวันหยุดประจำสัปดาห์
มิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวนมีกี่ประเภท ? แตกต่างกันอย่างไร
ตอบ มิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวน แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆคือ
- มิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวนแบบเข็ม Analogue Insulation Tester ซึ่งเป็นมิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวนที่ใช้ DC Test Voltage ต่ำคือ 250 VDC, 500 VDC, 1,000 VDC
- มิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวนแบบดิจิตอล ที่ใช้ DC Test Voltage มีค่าสูงกว่า Digital High Voltage Insulation Tester และค่าที่วัดได้เป็นตัวเลข (ดิจิตอล) เช่น DC Test Voltage (500V) 1,000 V, 2,500 V, 5,000 V เป็นต้น
การเลือกใช้มิเตอร์ควรเลือก Digital High Voltage Insulation Tester เมื่อใช้กับมอเตอร์ขนาดใหญ่ ส่วนมอเตอร์ขนาดเล็กใช้มิเตอร์แบบเข็มที่ใช้ DC Test Voltage ต่ำกว่า
ค่าความเป็นฉนวนขนาดที่โอห์มจึงถือว่าเป็นอันตราย ?
ตอบ ต่ำกว่า 1,000,000 Ω หรือ 1 MΩ ถือว่าเป็นอันตราย
ในการวัดค่าความต่อเนื่อง Continuity Test กระแสในวงจรมีค่าเท่าไร ?
ตอบ การวัดค่าความต่อเนื่อง มักจะมีติดอยู่กับมิเตอร์วัดค่าความเป็นฉนวนและมัลติมิเตอร์ เพราะในการใช้วัดมักจะมีความสงสัยอยู่ประจำว่าสายไฟหรือวงจรไฟฟ้าต่อถึงกันระหว่าง 2 จุด ในวงจรหรือไม่ การ test ด้วยการวัดค่าต่อเนื่องจึงมักจะติดอยู่กับมิเตอร์ทั่วๆไป ค่ากระแสในวงจรในการ test การวัดค่าความต่อเนื่อง Continuity Test จะมีค่าไม่เกิน 200 mA.
กระแสไฟที่เครื่องวัดค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าใช้ในการวัดมีค่าเท่าไร ?
ตอบ ต่ำสุดไม่น้อยกว่า 1 mA.